ดวงกมล เดโชจรัสศรี1, ผศ.ดร. แคทลียา ปัทมพรหม1 และ ศ.ดร. วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย2
ยางพาราเป็นผลผลิตทางการเกษตรหลักของประเทศ
ปัจจุบันกำลังการผลิตยางพารามีปริมาณมากกว่าความต้องการใช้ภายในประเทศและความสามารถในการส่งออก
วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการขายเหมายางในราคาถูกไม่ใช่ทางแก้ในระยะยาวและจะส่งผลให้ราคายางลดต่ำลงเรื่อยๆ
วิธีแก้ปัญหาที่ยั่งยืนกว่าคือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางธรรมชาติโดยวิธีต่างๆ
อาทิเช่น การปรับปรุงคุณสมบัติของยางธรรมชาติให้สามารถใช้งานได้ทนทานขึ้น
หรือการนำยางธรรมชาติมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ปัจจุบันยางธรรมชาติถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างมากขึ้นเรื่อยๆ
เช่น การนำยางธรรมชาติมาผสมยาง มะตอยเพื่อปูถนน
การนำแผ่นยางมาใช้กันกระเทือนบนรางรถไฟและเป็นหมอนรองคอสะพาน
และการนำมารองฐานรากของอาคารเพื่อตัดความสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว เป็นต้น
หมอนรองรางรถไฟนั้น
แต่เดิมทำจากไม้เนื้อแข็ง เนื่องจากไม้เนื้อแข็งมีความคงทน รับแรงกด
และแรงกระแทกได้ดี
นอกจากนี้การตอกตะปูเพื่อยึดไม้หมอนกับรางรถไฟยังทำได้สะดวกอีกด้วย
ต่อมาเมื่อปริมาณไม้เนื้อแข็งลดน้อยลง
จึงมีการนำปูนซีเมนต์มาหล่อทำหมอนรองแทนซึ่งมีราคาแพง รับแรงกระแทกได้ไม่ดีนัก
และจำเป็นต้องใช้หัวยึดชนิดพิเศษที่ต้องนำเข้าเพื่อยึดไม้หมอนกับราง
ปัจจุบันในต่างประเทศเริ่มมีการนำยางสังเคราะห์ที่ใช้แล้ว เช่น
ยางรถยนต์เก่าและวัสดุเหลือใช้ประเภทพลาสติกมาใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ
แต่ยังมีราคาแพงมากและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
ในงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการค้นหาส่วนผสมต่างๆ
ของยางธรรมชาติเพื่อให้ได้วัสดุที่เหมาะสมที่จะนำมาประยุกต์ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ
และการศึกษานี้จะนำมาประยุกต์ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟตัวอย่าง
เพื่อทดสอบตามมาตรฐานสากลโดยความร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย หากการศึกษาประสบความสำเร็จก็จะเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตผลของยางธรรมชาติ
ทำให้ราคายางมีเสถียรภาพและยังสามารถสร้างเป็นเทคโนโลยีของไทยเอง
เพื่อส่งออกไปขายยังต่างประเทศข้างเคียงได้
เครื่องบดระบบปิด (Internal Mixer) เครื่องบดระบบเปิด (Open Mill or Two-Roll Mill)